สวพ. 8 ลุย Soft Power ผลักดันพืชภาคใต้เชื่อมสายใยเศรษฐกิจและชุมชนภาคใต้ ตอนล่าง

 เมื่อ 26 เมษายน 2565 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้สั่งการให้รัฐมนตรีทุกกระทรวงส่งเสริม Soft Power หรืออำนาจอ่อน ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงตนเอง ทั้งนี้ ไม่ได้จำกัดเฉพาะ อาหาร กีฬา ศิลปะ และวัฒนธรรม แต่ความหมายของ Soft Power ในนิยามของนายกรัฐมนตรี คือการขยายอิทธิพลทางความคิด การทำให้คนมีส่วนร่วม สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้อื่นโดยไม่ใช้อำนาจขู่เข็ญ

 

สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 สงขลา กรมวิชาการเกษตร ได้ขานรับนโยบายในการนำ soft power มาใช้ในการพัฒนาการผลิตพืชพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง โดยได้ดำเนินการ  2 ส่วน คือ 1) การสร้างการมีส่วนร่วม พร้อมการสานพลังความคิดและการขยายอิทธิพลทางความคิด และ2) การนำพืชมาเชื่อมโยงการอัตลักษณ์ภูมิสังคมพื้นที่ ดังนี้

1. การสร้างการมีส่วนร่วม พร้อมการสานพลังความคิดและการขยายอิทธิพลทางความคิด สวพ.8 ทำการระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนร่วม (stakeholders) คือ ภาครัฐกระทรวงเกษตร มหาวิทยาลัย ท้องถิ่น อบจ.สงขลา เทศบาล ชุมชน สื่อมวลชน ผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร สภาเกษตรกร smart farmer (ศพก. แปลงใหญ่) เกษตรกรผู้นำ และผู้ร่วมภาค อื่น ๆ ในการให้ข้อเสนอแนะการพัฒนาเกษตรของแต่ละจังหวัดผ่าน เวที next normal อนาคตการเกษตรของแต่ละจังหวัด ซึ่งในรอบ 5 เดือนที่ผ่านมา ได้ร่วมกันเสนอแนะอนาคตเกษตรของแต่ละจังหวัด ดังนี้

เวที Next normal  สงขลา ได้วางเป้าหมาย สงขลาเมืองเกษตรสร้างสุข ให้เกิดความสมดุล พอเพียง ยั่งยืน ทั้ง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วางตำแหน่ง ทิศทางการพัฒนาในแต่ละพื้นที่ แต่ละภาคส่วนแต่ละสาขา ให้มีจุดยืน ปรับวิธีคิดและทิศทางให้ตรงกัน ปรับวิธีทำเกษตรของเกษตรกรให้เหมาะสมกับการเติบโต และปรับวิธีการสนับสนุนของภาครัฐ เอกชน ที่ต้องการมุ่งให้เกิดผลการเปลี่ยนแปลง ใช้ตลาด ใช้ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม ภูมิปัญญา ที่เหมาะสมกับพื้นที่ และก้าวหน้า รองรับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น และจะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อตอบโจทย์ความมั่นคงทางอาหาร การเปลี่ยนแปลงของโลกด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ ภูมิอากาศ และความขัดแย้ง 

เวที Next normal เกษตรตรัง เน้นท่องเที่ยวเชิงเกษตรสร้างรายได้ ชุมชนเข้มแข็ง  เกษตรพอเพียง มั่นคง ยั่งยืน ใช้งานวิจัยนำการผลิต การปรับระบบในทำงานร่วมกันของภาครัฐกับชุมชนกับผู้ประกอบการ คนให้มีจิตสำนึกดีต่อสังคมตั้งแต่เยาวชน 

เวที Next normal เกษตรนราธิวาส ให้ความสำคัญกับมังคุด ทุเรียน เพื่อการส่งออก การเชื่อมเกษตรแปลงใหญ่  การความร่วมมือทุกภาคส่วน การพัฒนาตลาดออนไลน์ พัฒนาระบบขนส่งในพื้นที่ ฐานข้อมูลผลิต-ตลาด การกระจายการผลิตนอกฤดูได้ การแก้ปัญหาเอกสารที่ดินที่จะมาออก GAP การให้ความรู้อย่างเข้มข้นต่อเนื่องและสร้างครูเกษตรกร

เวที next normal เกษตรพัทลุง เน้นมีการดำเนินธุรกิจเกษตรพันธะสัญญาอย่างมืออาชีพ เกษตรกรทำการผลิตทางการเกษตรแล้วได้กำไร ชัดเจน จัดทำระบบฐานข้อมูลสินค้าหลักๆที่ชัดเจน เช่น ผลผลิตอยู่ที่ไหน ออกเมื่อไหร่ คุณภาพดีมีเท่าไหร ข้อมูลเพียงพอที่สามารถนำไปเจรจาซื้อขายล่วงหน้ากับผู้ซื้อรายใหญ่ได้ การรับรองมาตรฐาน GAP วางแผนรายสินค้า พัทลุงเมืองสมุนไพร เกษตรอินทรีย์ เกษตรกรรมยั่งยืน เมืองท่องเที่ยวเกษตร ที่เป็นรูปธรรม มีพื้นที่ชัดเจน และเห็นภาพการขยายผลต่อเนื่อง

เวที next normal เกษตรยะลา  เน้นการพัฒนาทุเรียน มังคุดส่งออก ท่องเที่ยววิถีใหม่ และการท่องเที่ยว การลิ้มรสชาติผลไม้ในสายหมอกเมืองยะลา ลิ้มรสชาติผลไม้พร้อมเรื่องราวออนไลน์ที่สวยงามตื่นตา เป็นต้น

ทั้งนี้งาน สวพ.8 ได้ทำการบูรณาการผู้มีส่วนได้เสีย ร่วมสานพลังเครือข่ายการขับเคลื่อนชุมชนในทำการร่วมทำวิจัย ชุมชนต้นแบบความมั่นคงทางอาหาร (ปี65-67) โดยพัฒนาพืชเศรษฐกิจชุมชน พืชผสมผสาน พืชอินทรีย์ พืชที่ยืดหยุ่นต่อสภาพภูมิอากาศ และชุมชนเข้มแข็ง นอกจากนั้นมีการสานพลังกับท้องถิ่น เช่น จังหวัด อบจ.สงขลา ในโครงการพืชสมุนไพร เทศบาลเมืองยะลา โครงการกาแฟ  ศอบต. ในโครงการส่งเสริมการเกษตร ตำบลมั่นคงมั่งคั่ง เป็นต้น

2) การนำพืชมาเชื่อมโยงอัตลักษณ์ วิถีชุมชน และภูมิสังคมพื้นที่ สวพ.8  มีโครงการวิจัยด้านพืชอัตลักษณ์ถิ่นใต้ที่เป็นเสน่ห์ของพื้นที่(ปี 65-67) เช่น ละมุดเกาะยอ กาแฟใต้ พืชชุ่มน้ำ กระจูด บัว ลูกหยี ลังแข และพืชพื้นเมืองต่าง ๆ พืชเหล่านี้รับการส่งต่อจากรุ่นสู่ร่นผ่านเรื่องราวที่เล่าขานสืบสานกันมา กลายเป็นพลังเศรษฐกิจที่สร้างรายได้

Soft Power เป็นพลังที่เกิดจากการขับเคลื่อนทางสังคม (social movement) ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงความรู้สึก และการเปลี่ยนพฤติกรรมของพลเมือง ทั้งโดยรู้ หรือแบบไม่รู้ตัว เกิดเป็นกระแส ค่านิยม ไปจนความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรม เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ สำหรับไทยและโลกตะวันออก ไทยเราสร้างและใช้พลัง Soft Power ทางสังคมมายาวนานในระบบของการสืบสานวัฒนธรรมทางการเกษตร และการปลูกพืช เช่น วันพืชมงคล การทำขวัญข้าว  ซึ่งเกษตรกรไทยจะแสดงพลังจากความเครารพ ศรัทธา สิ่งที่บรรพบุรุษเราสร้างและส่งต่อกันมา  คนไทยรุ่นปัจจุบัน ควรที่ต้องมาให้ความสำคัญ  Soft Power ไทย ก็ต้องเริ่มที่ความรักศรัทธาในความเป็นไทย ในตัวตนไทย และรากเหง้าไทยที่มีเกษตร ศิลปะ และวัฒนธรรม เป็นสายใยสัมพันธ์

แสดงความคิดเห็น (0)
ใหม่กว่า เก่ากว่า
www.taekpradennews.com
www.taekpradennews.com