มีโอกาสได้เินทางร่วมคณะ กับ ศปป.5 กอ.รมน. พาสื่อมวลชนสัญจรลงพื้นที่จังหวัดนราธิวาส เพื่อรับทราบและขับเคลื่อนการปฏิบัติงานหน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ได้เห็นมุมมองใหม่ไปของ นราธิวาส ที่จะแม้จะถูกยกให้เป็นพื้นที่ความรุนแรง แต่ผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่แห่งนี้ยังคงสมัครสมานสามัคคี ยึดมั่นในแผ่นดินบ้านเกิดอย่างเต็มภาคภูมิจังหวัดชายแดนใต้ ได้เห็นมุมมองใหม่ไปของ นราธิวาส ที่จะแม้จะถูกยกให้เป็นพื้นที่ความรุนแรง แต่ผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่แห่งนี้ยังคงสมัครสมานสามัคคี ยึดมั่นในแผ่นดินบ้านเกิดอย่างเต็มภาคภูมิ
พลโท ธัชพล เปี่ยมวุฒิ ผู้อำนวยการ ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 5 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร หรือ กอ.รมน. บอกว่า หน่วยความมั่นคงของประเทศอย่าง ทหาร ยังคงให้ความสำคัญกับการดูแลประชาชนอย่างต่อเนื่อง ทั้งวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความรุนแรงจากเหตุการณ์ความไม่สงบที่คุ้นเคยจากข่าวสาร อย่างสามจังหวัดชายแดนใต้ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา ที่แม้จะมีเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้น แต่คนพื้นถิ่นที่ปัจจุบันมีหลากหลายวัฒนธรรมทั้งคนไทยพุทธ คนไทยมุสลิม ที่ยังคงมีวิถีชีวิตที่เป็นพหุวัฒนธรรม ใช้ชีวิตร่วมกันอย่างสันติ เพราะทุกคนคือคนไทย
การลงพื้นที่ นราธิวาส ในครั้งนี้ อยากนำสื่อมวลชนส่วนกลางจากกรุงเทพมหานครมาสัมผัสบรรยากาศวิถีชีวิต และการดำรงอยู่ของพี่น้องประชาชน ทหาร ตำรวจ ที่อาศัยอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อรับทราบ เป็นเสียงสะท้อน และได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง พร้อมย้ำว่า อยากให้สื่อมวลชน สัมผัสด้วยตาและได้ยินกับหูด้วยตนเอง อีกทั้งได้ร่วมเป็นกำลังใจให้กับพี่น้องประชาชน และเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วน ได้ร่วมกัน นำพาสันติสุขให้เกิดขึ้นในพื้นที่โดยเร็ว
ผู้อำนวยการ ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 5 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และคณะสื่อมวลชน ได้รับฟังบรรยายผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานของศูนย์ฯ ในการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวจัด เพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตร การดำเนินงานด้านการส่งเสริมและขยายผลในพื้นที่เกษตรกร ตลอดจนแผนการบริหารผลผลิตทางการเกษตร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ และตลาดออนไลน์ จากนั้นได้นำคณะนั่งรถรางลากพ่วงเยี่ยมชมตัวอย่างแห่งความสำเร็จในการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ "พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต" ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ อาทิ โครงการแกล้งดิน แปลงสาธิตการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด และร้านจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร “ร้านพิกุลเกษตรภัณฑ์”
นางสายหยุด เพ็ชรสุข ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ระบุว่า ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ แห่งนี้ได้ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2525 เกิดจากการที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินแปร พระราชฐานมาประทับแรม ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส เป็นประจำทุกปี ทรงพบว่าปัญหาที่สำคัญยิ่งของราษฎรในจังหวัดนราธิวาส คือที่ดินทำกินของราษฎรส่วนใหญ่เป็นที่ลุ่มน้ำขังเกือบตลอดทั้งปี อีกทั้งดิน มีสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด เพาะปลูกได้ผลิตผลต่ำมาก จึงมีพระราชดำริให้ หน่วยงานจากกรมกองต่าง ๆ มาร่วมกันศึกษาวิธีการเป็นต้นแบบในการพัฒนา พื้นที่พรุ แล้วนำผลสำเร็จจากการศึกษานี้ไปขยายผลการพัฒนาในพื้นที่ของ ราษฎร
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นแหล่งรวมการศึกษาข้อมูลวิชาการ และฝึกอบรมการเกษตร เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาที่ดินแก่ประชาชนในพื้นที่ แบบเบ็ดเสร็จ คือ วิเคราะห์ ทดลอง ทดสอบการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ภายในศูนย์ฯ แบ่งเป็นอาคารสำนักงาน แปลงสาธิต และแปลงวิจัยทดลองในพื้นที่ป่าพรุ โครงการที่สำคัญ ๆ เช่น โครงการแกล้งดิน โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ นำมา ปรับใช้ให้เข้ากับสภาพพื้นที่นี้ซึ่งมีน้ำมากพออยู่แล้ว การทดลองปลูกปาล์ม น้ำมันที่ขึ้นในดินอินทรีย์ การทำบ่อก๊าซชีวภาพจากมูลวัว การทดลองนำ ระกำหวานมาปลูกเป็นพืชแซมในสวนยางพารา เป็นต้น นอกจากนี้ยังเปิด ศูนย์ฝึกอบรมงานหัตถกรรมจากกระจูดและใบปาหนันอีกด้วย