เลขาธิการ สทนช. ลงพื้นที่ จ.เชียงใหม่-ลำพูน ติดตามผลศึกษาแผนบรรเทาน้ำท่วม/ภัยแล้ง พื้นที่เฉพาะ (Area Based) ก่อนเดินหน้าแผนหลักกว่า 7 พันโครงการ ตามแผนแม่บทฯน้ำ 20 ปี พร้อมผลักดันการพัฒนาแหล่งน้ำในขุมเหมืองร้าง ให้เป็นแหล่งน้ำต้นทุน อีกหนึ่งทางรอดของเกษตรกร จากภาวะ ฝนทิ้งช่วง

เลขาธิการ สทนช. ลงพื้นที่ จ.เชียงใหม่-ลำพูน ติดตามผลศึกษาแผนบรรเทาน้ำท่วม/ภัยแล้ง พื้นที่เฉพาะ (Area Based) ก่อนเดินหน้าแผนหลักกว่า 7 พันโครงการ ตามแผนแม่บทฯน้ำ 20 ปี พร้อมผลักดันการพัฒนาแหล่งน้ำในขุมเหมืองร้าง ให้เป็นแหล่งน้ำต้นทุน อีกหนึ่งทางรอดของเกษตรกร จากภาวะ ฝนทิ้งช่วง 
นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ ติดตามความคืบหน้าโครงการศึกษาแผนหลักแบบบูรณาการ เพื่อการบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้ง พื้นที่เฉพาะ (Area Based) เชียงใหม่-ลำพูน ว่าจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน เป็นพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของภาคเหนือ ที่ประสบปัญหาภัยแล้งและอุทกภัยที่ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจ จึงได้มีการศึกษาจัดทำแผนหลักบรรเทา อุทกภัยและภัยแล้ง ตามแผนแม่บทบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี 
โดยทำการศึกษา วิเคราะห์สภาพพื้นที่ ปัญหา และความต้องการของคนในพื้นที่เป้าหมาย เพื่อหามาตรการแก้ไขปัญหาในเชิงลึกและสอดคล้องกับ บริบทในปัจจุบัน บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการทรัพยากรน้้าอย่างเป็นรูปธรรม ลดความ เสียหายจากอุทกภัยและภัยแล้ง สร้างความมั่นคงด้านน้ำภาคการผลิต การอุปโภคบริโภค การจัดการคุณภาพ น้ำให้ได้มาตรฐาน และการอนุรักษ์ฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำ นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ ทั้งด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคที่เกี่ยวข้อง
โดยได้ด้าเนินการศึกษาพื้นที่ Area Based จังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน ครอบคลุมพื้นที่ 138 ตำบล 19 อำเภอ และพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาที่เกี่ยวเนื่องกับพื้นที่ Area Based จังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน ทั้งนี้ จากผลการศึกษา สามารถจัดท้าแผนงานหลักของหน่วยงานต่างๆ ทั้งหมดจำนวน 7,090 โครงการ ที่สามารถแก้ไขปัญหา ทรัพยากรน้ำ 5 ด้าน แบ่งเป็น 1.ด้านการจัดการน้ำอุปโภคบริโภค จ้านวน 1,430 โครงการ 2.ด้านการสร้าง ความมั่นคงของภาคการผลิต จำนวน 3,996 โครงการ 3.ด้านการจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย จำนวน 1,219 โครงการ 4.ด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศทรัพยากรน้ำ จำนวน 259 โครงการ 5.ด้านการบริหารจัดการ จำนวน 186 โครงการ อย่างไรก็ตาม หากการด้าเนินการเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดจะสามารถเพิ่ม ประสิทธิการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบ ประชาชนมีแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ที่ได้มาตรฐานและเพียงพอ พัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำให้มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น 951 ล้าน ลบ.ม. แก้ปัญหา ภัยแล้งครอบคลุมพื้นที่ 3,840,101 ไร่ นอกจากนี้ ยังเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ จัดการพื้นที่น้ำท่วม บรรเทาปัญหาอุทกภัยได้ 1,721,775 ไร่ ควบคู่กับการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย อนุรักษ์ฟื้นฟูแม่น้ำลำคลอง ฟื้นฟูป่าต้นน้ำเสื่อมโทรม ลดการชะล้างพังทลายของดิน จัดทำแผนบริหารจัดการน้ำ แผนป้องกันและแก้ไข ภาวะน้ำแล้งและน้ำท่วม พัฒนาระบบตรวจวัดระบบฐานข้อมูล แต่งตั้งองค์กรผู้ใช้น้้า และมีการติดตาม ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
เลขาธิการ สทนช. กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการลงพื้นที่อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน พบว่า มีขุมเหมืองแร่ถ่าน หินเก่าอยู่มาก จากข้อมูลของส้านักงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เขต 3 ระบุว่าอำเภอลี้ มีขุมเหมืองแร่ ที่ไม่ได้ด้าเนินการแล้วจำนวน 11 ขุมเหมือง ประกอบด้วย ตำบลลี้ 6 ขุมเหมือง ตำบลดงดำ 3 ขุมเหมือง ตำบลนาทราย 2 ขุมเหมือง จากการสำรวจและเก็บตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์คุณภาพน้ำ สามารถนำน้ำ จากขุมเหมืองมาใช้ประโยชน์เพื่อบรรเทาปัญหาในภาคการเกษตรได้ นับเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนา แหล่งเก็บกักน้ำเดิมให้กลับมาใช้ประโยชน์เป็นแหล่งน้ำต้นทุนเพื่อสนับสนุนการทำเกษตร โดยกำหนดให้เป็น 1 ใน 6 โครงการเร่งด่วน “โครงการแก้ไขปัญหา การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิตโดยการพัฒนา ขุมเหมืองตำบลดงดำ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน” เพื่อทำโครงการก่อสร้างปรับปรุงขุมเหมืองและระบบ กระจายน้ำพัฒนาขุมเหมืองตำบลดงดำ 2 แห่ง คาดว่าจะสามารถเพิ่มพื้นที่ชลประทานแก้ปัญหาภัยแล้ง ในการปลูกพืชเศรษฐกิจของเกษตรกรในจังหวัดลำพูนพื้นที่ประมาณ 7,482 ไร่ ที่มีความต้องการใช้น้ำ ประมาณ 9.32 ล้าน ลบ.ม./ปี
“ จากการลงพื้นที่ พบว่าน้ำจากเหมือง ซึ่งเหมืองเช่นนี้จะเป็นต้นแบบ เพื่อขยายไปในพื้นที่เหมืองร้างอื่นๆ แต่สิ่งแรกที่ต้องทำคือจะต้องมีการตรวจวัดคุณภาพน้ำก่อน หากเหมืองไหนคุณภาพน้ำเกินค่ามาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นค่ามาตรฐานเพื่อการ อุปโภค ผู้บริโภค หรือเพื่อการเกษตร ถ้าเกินมาตฐานเพื่อการเกษตรก็ไม่สามารถที่จะไปดำเนินการในเรื่องของการเกษตรได้ เหมืองเหล่านั้นเราก็จะไม่ไปพัฒนานำมาเพื่อการเกษตร และที่สำคัญจะต้องมีการประสาน กับหลายหน่วยงาน เพราะเหมืองยังดูแลโดยกระทรวงอุตสาหกรรม และมีหน่วยงานในการตรวจวัดคุณภาพน้ำอยู่แล้ว และอาจจะส่งต่อข้อมูลให้กับทาง สทนช. เราก็จะมาดูภาพรวมในเรื่องของการพัฒนา ซึ่ง เหมืองเก่าในลักษณะแบบนี้ การจะนำน้ำมาใช้ จะต้องมีระบบสูบน้ำ ซึ่งอาจจะต้องมีการประสานกับกระทรวงพลังงาน โดยมีการติดตั้งระบบสูบด้วยโซล่าเซลล์ 
ทั้งนี้ งบประมาณในการพัฒนา อย่างเช่น เหมืองลี้มีรัก มีการติดตั้งระบบสูบน้ำด้วยโซล่าเซลล์ ประมาณ 5 ล้านบาท และต้องขึ้นอยู่กับพื้นที่ของแต่ละพื้นที่ว่าจะมีประโยชน์ มากน้อยอย่างไร และขึ้นอยู่กับการลงทุน ของขนาดระบบสูบน้ำ จะต้องใช้เล็กหรือใหญ่ขนาดไหน งบประมาณก็อาจจะลดหลั่นกันไป
อย่างไรก็ดีในพื้นที่เกษตรที่อาศัยน้ำฝน และฝนตกไม่กระจายตัว อย่างสม่ำเสมอนั้น การที่มี ขุมเหมืองในลักษณะแบบนี้ เหมือนเป็นการพัฒนาแหล่งน้ำ เป็นแหล่งน้ำต้นทุน เพื่อใช้ เรื่องของการบริหารความเสี่ยง ในช่วงฝนทิ้งช่วง ถือว่าเป็นทางรอดหนึ่งที่จะ สามารถช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรได้ ซึ่งจะอยู่ในแผนแม่บท การ บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี ด้านที่ 2 การพัฒนาน้ำเพื่อการผลิต ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่เราจะนำมาเติมเต็ม ในการส่งเสริมเพื่อพี่น้องเกษตรกรได้
เลขาธิการ สทนช.กล่าวด้วยว่า อีกโครงการหนึ่งซึ่งมีความสำคัญ ต่อการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำและบรรเทาปัญหาอุทกภัย คือ “โครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำแม่ตะมาน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และทางเข้า-ออก หมายเลข 2 ของอุโมงค์ส่งน้ำแม่แตง-แม่งัด” เนื่องจากเขื่อนแม่กวงอุดมธารา มีความจุ 263 ล้าน ลบ.ม. มีพื้นที่ชลประทาน 175,000 ไร่ แต่จากสถิติที่ผ่านมามีน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำ เฉลี่ยเพียงปีละ 202 ล้าน ลบ.ม. ประกอบกับพื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่และลำพูน มีความต้องการใช้น้ำสูงกว่าปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา ทำให้ปัจจุบันเกิดการขาดแคลนน้ำเฉลี่ยปีละประมาณ 137 ล้าน ลบ.ม. และจากการขยายตัวของภาค เกษตรกรรม การท่องเที่ยว อุตสาหกรรมและชุมชน และในอนาคตอีก 20 ปีข้างหน้า คาดว่าจะขาดแคลนน้ำเพิ่มขึ้นเป็นปีละประมาณ 173 ล้าน ลบ.ม. ทั้งนี้ ประตูระบายน้ำแม่ตะมาน เป็นองค์ประกอบที่ส้าคัญในการ ยกระดับน้ำเพื่อผันน้ำผ่านเข้าไปยังอุโมงค์แม่งัด-แม่กวง ซึ่งประกอบด้วยประตูระบายน้ำ จำนวน 4 ช่อง ความกว้างช่องละ 10 เมตร ปิดกั้นลำน้้าแม่แตง บริเวณด้านเหนือน้ำของบ้านแม่ตะมาน ในเขตตำบลกื้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 
ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างมีความก้าวหน้า คิดเป็นร้อยละ 96.37 หากดำเนินการแล้วเสร็จจะสามารถเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนของอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธาราเฉลี่ยปีละ ประมาณ 160 ล้าน ลบ.ม. เพิ่มพื้นที่เพาะปลูกช่วงฤดูแล้งของพื้นที่ชลประทานโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา เขื่อนแม่กวงอุดมธารา จาก 17,060 ไร่ เป็น 76,129 ไร่ และช่วยบรรเทาอุทกภัยในเขตเทศบาลเมือง นครเชียงใหม่ลดลงร้อยละ 70

แสดงความคิดเห็น (0)
ใหม่กว่า เก่ากว่า
www.taekpradennews.com
www.taekpradennews.com