ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ นำคณะนักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยจาก 10 หน่วยงาน คว้ารางวัลจากการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติ จากงาน“The International Trade Fair – Ideas, Inventions and New Products” (iENA 2022) ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 – 30 ตุลาคม 2565 ณ เมืองนูเรมเบิร์ก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า ปีนี้ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้นำคณะนักประดิษฐ์และนักวิจัยไทย รับเหรียญรางวัลจาก iENA2022 มีดังนี้ 1) รางวัลเหรียญทอง 10 ผลงาน ได้แก่ ผลงานเรื่อง “เตียงปรับระดับอัตโนมัติระบบปัญญาประดิษฐ์สำหรับทารกหรือเด็กเล็ก” ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุภาวดี ทับกล่ำ และคณะ แห่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผลงานเรื่อง “อุปกรณ์ป้องกันดวงตาทารกขณะส่องไฟรักษา” ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุภาวดี ทับกล่ำ และคณะ แห่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผลงานเรื่อง “อุปกรณ์ป้องกันดวงตาทารกขณะส่องไฟรักษา” ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุภาวดี ทับกล่ำ และคณะ แห่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผลงานเรื่อง “เครื่องคัดกรองประเมินความเสี่ยงผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนแบบพกพาด้วยแสงความยาวคลื่นช่วงใกล้อินฟราเรดเพิ่มประสิทธิภาพด้วยปัญญาประดิษฐ์” ของ รองศาสตราจารย์ ดร.อนรรฆ ขันธะชวนะ และคณะ แห่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผลงานเรื่อง “ลูกอมเม็ดนิ่ม [6]-จินเจอรอล สำหรับแก้เมารถเมาเรือ” ของ รองศาสตราจารย์ ดร.เภสัชกร ภาคภูมิ พาณิชยูปการนันท์ และคณะ แห่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผลงานเรื่อง “นวัตกรรมเครื่องกำจัดวัชพืชลอยน้ำแบบบดละเอียดสู่การใช้ประโยชน์ทางการเกษตรของชุมชน” ของ นายนพวัฒน์ พักใส และคณะ แห่ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ผลงานเรื่อง “หุ่นยนต์อเนกประสงค์เพื่องานบำรุงรักษาสายส่ง” ของ ดร.ธงชัย ดิษยเดช และคณะ
แห่ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ผลงานเรื่อง “อุปกรณ์สลับแหล่งจ่ายแรงดันอัตโนมัติ” ของ นายจิรเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน และคณะ แห่ง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ผลงานเรื่อง “ชุดเกียร์อเนกประสงค์ ของ นายสรายุทธ พุฒทองหลาง และคณะ แห่ง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ผลงานเรื่อง “P-MAC: เครื่องมือตรวจสอบมิเตอร์และ ซี.ที. แรงต่ำ” ของ นายทรงศักดิ์ พิกุลทอง และคณะ แห่ง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และผลงานเรื่อง “หมุนสลายคราบ” ของ นายสิทธิเดช เอียดสี และคณะ แห่ง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 2) เหรียญเงิน 13 ผลงาน และ 3) เหรียญทองแดง 6 ผลงาน และเป็นที่น่ายินดีที่นักประดิษฐ์และนักวิจัยไทย สามารถคว้าSpecial Prize ที่มีการมอบรางวัลบนเวทีอีก 5 ผลงาน ได้แก่ รางวัล iENA Fairmanagement จากผลงานเรื่อง “เตียงปรับระดับอัตโนมัติระบบปัญญาประดิษฐ์สำหรับทารกหรือเด็กเล็ก” ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุภาวดี ทับกล่ำ และคณะ แห่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รางวัล IFIA for the Best Green Innovation จากผลงานเรื่อง “UNC CALCIUM ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมแคลเซียม MCHC สกัดจากธรรมชาติ 100%” ของ ดร.เกยูร โชคล้ำเลิศ แห่ง หอการค้าไทยและสภาหอการค้าไทย รางวัล Korea Invention Promotion Association สาธารณรัฐเกาหลี จากผลงานเรื่อง “P-MAC : เครื่องมือตรวจสอบมิเตอร์และ ซี.ที. แรงต่ำ” ของ นายทรงศักดิ์ พิกุลทอง
แห่ง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค รางวัล Association of Polish Inventors and Rationalizers สาธารณรัฐโปแลนด์ จากผลงานเรื่อง “เครื่องคัดกรองประเมินความเสี่ยงผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนแบบพกพาด้วยแสงความยาวคลื่นช่วงใกล้อินฟราเรดเพิ่มประสิทธิภาพด้วยปัญญาประดิษฐ์” ของ รองศาสตราจารย์ ดร.อนรรฆ ขันธะชวนะ และคณะ แห่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รางวัล Association of European Inventors ผลงานเรื่อง “ฟิล์มคลุมดินย่อยสลายได้ผสมอนุภาคนาโนหลายหน้าที่ป้องกันและควบคุมโรครากเน่าและแมลงศัตรูพืชในดิน” ของ รองศาสตราจารย์ ดร.ดุสิต อธินุวัฒน์ แห่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สำหรับเวที “The International Trade Fair-Ideas, Inventions and New Products” จัดขึ้นเป็นปีที่ 74 เป็นเวทีการประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติที่สำคัญในสหภาพยุโรป โดยมีนักประดิษฐ์และนักวิจัยจากทั่วโลกนำผลงานเข้าประกวดและจัดแสดงกว่า 500 ผลงาน จากกว่า 20 ประเทศ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมชมงานมากกว่า 10,000 คน
สำหรับหน่วยงานจากประเทศไทยที่ร่วมคว้ารางวัลในงาน “The International Trade Fair-Ideas, Inventions and New Products” (iENA 2022) มีจำนวน 10 หน่วยงาน ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยทักษิณมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หอการค้าไทยและสภาหอการค้าไทย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปานครหลวง ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยผลงานจากประเทศไทยที่ วช.นำเข้าร่วมประกวดในครั้งนี้ เป็นผลงานที่ผ่านการพิจารณาโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในการกลั่นกรองในเกณฑ์ที่ให้ความสำคัญ ได้แก่ มาตรฐานของผลงานประดิษฐ์คิดค้นและผลงานวิจัย ความพร้อมในการนำผลงานไปใช้ประโยชน์ ผลงานที่มีกระบวนการยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้ง ผลงานที่ได้รับรางวัลในเวทีระดับประเทศ อาทิ รางวัลการวิจัยแห่งชาติ เป็นต้น